สิงหาคม 28, 2020
รักษาและป้องกัน แผลเป็นนูนและคีลอยด์ทำความรูจัก “โรคผมร่วงเป็นหย่อม” (Alopecia Areata)
โรคผมร่วงเป็นหย่อม เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองหรือออโต้อิมมูนชนิดหนึ่ง ที่มีระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายไปทำลายเซลล์รากผมบางบริเวณ ทำให้ผมร่วงอย่างรวดเร็ว
พบได้บ่อยแค่ไหน?
พบได้ประมาณ 0.1-0.2%
พบในคนกลุ่มใดบ้าง?
พบโรคนี้ได้ทั้งในเพศชายและหญิง พบบ่อยในคนอายุน้อยกว่า 40 ปี และพบได้บ่อยขึ้นในผู้ที่มีประวัติครอบครัว, ผู้เป็นโรคไทรอยด์บางชนิด, โรคภูมิแพ้ผิวหนัง, ด่างขาว, โรคแพ้ภูมิตัวเองบางชนิด
อาการเป็นอย่างไร?
- ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เป็นวงขอบเขตชัดเจน ผิวหนังบริเวณนั้นจะปกติ รูขุมขนยังไม่โดนทำลาย
- อาจมีไม่กี่หย่อม จนกระทั่งมากจนเป็นทั้งศีรษะได้ รวมทั้งอาจเกิดขึ้นที่คิ้ว หนวด รักแร้ หัวเหน่าได้ด้วย
- อาจพบความผิดปกติของเล็บ เช่น พบหลุมเล็ก ๆ หรือยุบตัวเป็นแนวยาวบนเล็บ เล็บร่อน เล็บเปราะ หรือผิดรูป
การวินิจฉัยโรคนี้ทำได้อย่างไรบ้าง?
วินิจฉัยจากโรคผมร่วงชนิดอื่น ๆ รวมทั้งโรคติดเชื้อ เช่น ซิฟิสิส กลาก โดยใช้การตรวจร่างกายและตรวจดูลักษณะเส้นผมหนังศีรษะใต้กล้องขยายเป็นหลัก อาจใช้การตรวจเลือดและการตัดชิ้นเนื้อ ในบางกรณี
เป็นแล้วหายได้หรือไม่?
60% ของผู้ป่วย ผมจะงอกกลับขึ้นมาใหม่เต็มหย่อมได้ ใน 1 ปี แต่อาจกลับเป็นซ้ำได้ 40%ของผู้ป่วยจะกลับเป็นซ้ำในปีแรก และ 30%ของผู้ป่วยจะเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
การรักษา
เบื้องต้นใช้ยาทา ได้แก่ สเตียรอยด์ และ ไมน็อกซิดิล และการฉีดสเตียรอยด์ในผิวหนังบริเวณที่เกิดปัญหา
หากอาการรุนแรง แพทย์จะพิจารณาการรักษาด้วยวิธีอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น
- การใช้ยาสเตียรอยด์แบบรับประทานหรือฉีดเข้ากล้ามแขน
- การทายาที่หนังศีรษะเพื่อกระตุ้นให้เกิดผื่นแพ้สัมผัส
- การใช้ยากดหรือปรับเปลี่ยนระบบภูมิคุ้มกัน
- การฉายแสงอาทิตย์เทียม และการใช้เลเซอร์บางชนิด